เป้าหมายความเข้าใจรายสัปดาห์
: เข้าใจและสามารถอธิบายความเชื่อมโยงและปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบันได้
Week
|
input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
8
|
โจทย์
- การส่งเสริมสุขภาพ
- อิทธิพลความคาดหวังต่อสังคมต่อการเปลี่ยนแปลง
- สื่อโฆษณา
-
การวางแผนการดำเนินชีวิต
Key Questions
- นักเรียนเลือกรับสื่อประเภทใดในการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน
เพราะเหตุใดจึงเลือกสื่อประเภทนี้
-
นักเรียนคิดว่าการสื่อสารหรือถ่ายทอดข้อมูลจากคนหนึ่งให้กับอีกคนหนึ่ง
มีปัจจัยใดบ้างเข้ามาเกี่ยวข้อง
เครื่องมือคิด
Show and Share
-
นำเสนอความคิดเห็น เกี่ยวกับปัจจัยต่างๆที่ก่อให้เกิดวิถีการดำเนินชีวิต
- นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีต่อการสื่อสาร
Mind Mapping
สรุปความเชื่อมโยงของปัจจัยต่างๆที่ก่อให้เกิดวิถีการดำเนินชีวิต
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องสมุด
- internet
- บรรยากาศในห้องเรียน
- คลิปรายการ “Wisdom
talk ”
- เกม “ต่างสื่อ ต่างสาร”
- ใบงาน “แสดงทัศนะคติต่อการดำเนินชีวิต การวางแผนชีวิต”
|
จันทร์
ชง : ครูเปิดคลิปรายการ “Wisdom talk ” ซึ่งเกี่ยวกับการดำรงชีวิตของคนในปัจจุบันกับในชนบท
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
และปัจจัยต่างๆที่ก่อให้เกิดวิถีการดำเนินชีวิตจากคลิปรายการที่ได้ดู
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับความคิดเห็นต่างๆ
และสรุปความเชื่อมโยงที่ได้ในรูปแบบ
Mind Mapping
พุธ
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนเลือกรับสื่อประเภทใดในการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน
เพราะเหตุใดจึงเลือกสื่อประเภทนี้?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำถาม
- นักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่มๆละเท่าๆกันและตัวแทนกลุ่มจับฉลากเลือกหัวข้อ
ดังนี้ การส่งเสริมสุขภาพ , อิทธิพลความคาดหวังต่อสังคมต่อการเปลี่ยนแปลง, สื่อโฆษณา
, การวางแผนการดำเนินชีวิต
- นักเรียนแต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลในหัวข้อที่ได้รับ
และร่วมวางแผนนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของละครสั้น
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอข้อมูลผ่านละครสั้น
- ครูและนักเรียนทุกกลุ่มอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการนำเสนอ
พฤหัสบดี
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าการสื่อสารหรือถ่ายทอดข้อมูลจากคนหนึ่งให้กับอีกคนหนึ่ง
มีปัจจัยใดบ้างเข้ามาเกี่ยวข้อง?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
- ครูและนักเรียนร่วมเล่นเกม
“ต่างสื่อ ต่างสาร”
ซึ่งเป็นเกมเกี่ยวกับการสื่อสารของคนแต่ละคน ที่มีเนื้อสารเดียวกัน มีวิธีการสื่อสารต่างกัน และมีความหมายเดียวกัน
-
ครูและนักเรียนร่วมพูดคุยเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- นักเรียนแต่ละคนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ลงในสมุดบันทึกเล่มเล็ก
ศุกร์
ใช้ : ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้
- นักเรียนทำใบงาน “แสดงทัศนะคติต่อการดำเนินชีวิต การวางแผนชีวิต”
เชื่อม :นักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับใบงานและความเชื่อมโยงสิ่งที่ได้เรียนรู้เพื่อสร้างความเข้าใจ
และสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
- วิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้ และปัจจัยต่างๆที่ก่อให้เกิดวิถีการดำเนินชีวิตจากคลิปรายการ
- สรุปความเชื่อมโยงที่ได้ในรูปแบบ Mind Mapping
- สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ, อิทธิพลความคาดหวังต่อสังคมต่อการเปลี่ยนแปลง,สื่อโฆษณา, การวางแผนการดำเนินชีวิต
- นำเสนอสิ่งที่ได้ในรูปแบบละคร
- อภิปรายเกมสิ่งที่ได้จากเกม
“ต่างสื่อ ต่างสาร”
- วิเคราะห์ใบงานโดยแสดงทัศนคติเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต และการวางแผนชีวิต
ชิ้นงาน
- Mind Mapping สรุปปัจจัยต่างๆที่ก่อให้เกิดวิถีการดำเนินชีวิต
- ละครสั้น
- ใบงาน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้
ความเชื่อมโยงและปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบัน
ทักษะ
ทักษะชีวิต
- การวางแผนในการทำงานกลุ่ม
ทักษะการจัดการข้อมูล
การคิดวิเคราะห์และจัดการข้อมูลที่ใช้ในการนำเสนอเกี่ยวกับความเชื่อมโยงและปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบัน ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- นักเรียนแต่ละคน
ได้ร่วมแสดงความคิดเห็น และรับฟังทัศนะคติของทุกๆคนอย่างมีเหตุผล
- กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับการสืบค้นข้อมูลเพื่อใช้ในการร่วมเรียนรู้กับผู้อื่น
ทักษะความคิดสร้างสรรค์
- การนำเสนอสิ่งที่ได้สืบค้นในรูปแบบ
การแสดงละครสั้น
-
การนำเสนอทัศนะคติของตนเองต่อการดำเนินชีวิต
คุณลักษณะ
-
การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- สรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
|
ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนรู้
- สะท้อนแนวคิด "การเปลี่ยนแปลงของสังคม" ในรูปแบบภาพวาด



ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
บันทึกหลังการเรียนรู้
ตอบลบสำหรับสัปดาห์นี้คุณครูสร้างแรงการเรียนรู้ เริ่มต้นจากเปิดภาพให้พี่ๆ ม.3 ดู ซึ่งเกี่ยวกับ ความเป็นชนบท และความศิวิไลของคนเมือง ซึ่งแตกต่างกัน หลังจากดูภาพแต่ละภาพแล้วคุณครูได้ถามกับพี่ว่าหากต้องเลือกไปอยู่ในสังคมแบบชนบทกับในเมืองพี่ๆจะเลือกอะไร เพราะเหตุใด คำตอบ 100 เปอร์เซ็นต์ของห้อง เหมือนกันคือ ในชนบท ซึ่งให้เหตุผลว่า อยู่แล้ว สบายใจ อิสระ มีมิตภาพที่ดี เพราะในเมืองบ้างครั้งพักห้องใกล้กันแต่ก็ไม่รู้จักกัน ฯลฯ หลังจากนั้นคุณครูก็ได้ให้พี่ๆแต่ละคนสะท้อนแนวคิดของตนเองเกี่ยวกับความแตกต่างของชนบทและในเมือง ในรูปแบบภาพวาดลงในกระดาษ A4 หลังจากนั้น ก่อนที่เราจะได้เริ่กิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับ การสืบค้นข้อมูล คุณครูและพี่ๆก็นั้งล้อมวงโดยได้ใช้คำถามกระตุ้น เกี่ยวกับ "พี่ๆคิดว่าตัวเองรับสื่อ ข้อมูลจากทางใดมากที่สุด เรียงลำดับจาก วิทยุ ไลน์ ทวีตเตอร์ เฟสบุค โทรทัศน์ Social " หลังจากแต่ละคนสเรียงลำดับสื่อที่ตนนเองเข้าถึงได้บ่อย จากมากไปน้อยเรียบร้อยแล้ว แต่ละคนก็นำเสนอความคิดเหฌของตนเอง ต่อสื่อที่ตนเองเข้าถึงมากและบ่อยที่สุดให้เพื่อนๆฟัง อาทิเช่น พี่ฟ้าวรรณ "ของหนูจะเป็นเฟสบุคค่ะครู เพราะว่าทุกคนเล่นแล้วก็จะมีบางอย่างที่เราสามารถติดตามข่าวสำคัญๆที่กำลังมีอยู่ในกระแส ณ ตอนนั้นได้เลย " พี่กัน "ของหนูเป็น ทีวีค่ะ เพราะว่าชอบดูเวลาอยู่เฉยๆ ดูหนัง ดูข่าวอะไรอย่างงี้ค่ะ" ฯลฯ หลังจากนั้น ก็จับฉลากเลือกลุ่มและเลือกหัวข้อประกอบด้วย การส่งเสริมสุขภาพ , อิทธิพลความคาดหวังต่อสังคมต่อการเปลี่ยนแปลง, สื่อโฆษณา , การวางแผนการดำเนินชีวิต โดยในการนำเสนอข้อมูลในครั้งนี้เป็นการนำเสนอผ่านละครสั้น โดยมีข้อูลประกอบด้วย หลังจากที่แต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลและซ้อมละครเรียบร้อยแล้ว ในคาบการเรียนร้ต่อมาเราก็ได้นำเสนอ และพูดคุยร่วมกันหลังจากละครแต่ละเรื่องจบลงค่ะ ทุกคนมีมุมองต่อเรื่องสุขภาพและการวางแผนในการดำเนินชีวิตในเบื้องต้นหากแต่ต้องใช้เวลาในการะเก็บเกี่ยวประสบการณ์ที่มีอยู่ตลอดเวลาไปปรับใช้ร่วมด้วยค่ะจากนั้นก็ได้สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ร่วมกัน