เป้าหมายความเข้าใจรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถอธิบายระบบเศรษฐกิจประเภทต่างๆและความเชื่อมโยงระหว่าระบบเศรษฐกิจกับระบบเศรษฐศาสตร์
Week
|
input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
6
|
โจทย์
-
ระบบเศรษฐศาสตร์
- ระบบเศรษฐกิจ
Key Question
นักเรียนคิดว่าระบบเศรษฐกิจที่แตกต่างกันมีความเชื่อมโยงกับระบบเศรษฐศาสตร์ในประเทศนั้นอย่างไร
เครื่องมือคิด
Show and Share
นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจที่แตกต่างกันกับระบบเศรษฐศาสตร์ที่เกิดขึ้น
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องสมุด
- internet
- บรรยากาศในห้องเรียน
- บทความ “เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน”
- ภาพโรงงานอุตสาหกรรม
- ภาพรถยนต์มีผู้โดยสารเต็มคันรถ
- ภาพห้างสรรพสินค้า
- ภาพโรงพยาบาลมีแพทย์รักษาคนไข้
- ภาพอาคารประเภทต่าง ๆ
- ภาพร้านอาหารมีคนนั่งกินอาหาร
- ใบงาน “ระบบเศรษฐกิจ และ กลไกราคา
|
จันทร์
ชง : ครูแจกบทความ “เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน”
(เรื่องแตกต่างกัน) ให้นักเรียนแต่ละคน
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนทำความเข้าใจ
และนำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความที่ได้รับ
- นักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่มๆละเท่าๆกันและตัวแทนกลุ่มจับฉลากเลือกหัวข้อ
ดังนี้ กลไกราคากับระบบเศรษฐกิจ (อุปสงค์
, อุปทาน ,ดุลยภาพ ) ,เศรษฐกิจระหว่างประเทศ ,ภาวะเงินฝืด เงินเฟ้อ , สาเหตุและวิธีการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ
พุธ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลในหัวข้อที่ได้รับ
และนำเสนอในรูปแบบต่างๆที่สนใจ
- ครูและนักเรียนแต่ละกลุ่มอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการนำเสนอ
- ครูและนักเรียนร่วมเล่นเกม
“อุปสงค์ อุปทาน” โดยครูมีภาพ ต่างๆให้นักเรียนร่วมพิจารณา และคิดว่าน่าจะอยู่ในหมวด
อุปสงค์ หรือ อุปทาน
- ครูและนักเรียนแต่ละกลุ่มอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากเกม
พฤหัสบดี
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าระบบเศรษฐกิจที่แตกต่างกันมีความเชื่อมโยงกับระบบเศรษฐศาสตร์ในประเทศนั้นอย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่มๆละเท่าๆกันและตัวแทนกลุ่มจับฉลากเลือกหัวข้อ
ดังนี้ ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมหรือทุน
นิยม
,
ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ ,ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม , ระบบเศรษฐกิจแบบผสม
- นักเรียนแต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลในหัวข้อที่ได้รับ
และนำเสนอในรูปแบบต่างๆที่สนใจ
- นักเรียนแต่ละคนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ลงในสมุดบันทึกเล่มเล็กและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ศุกร์
ใช้ : ครูและนักเรียนแต่ละกลุ่มอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการนำเสนอ
เชื่อม : นักเรียนทำใบงานเกี่ยวกับ “ระบบเศรษฐกิจ และ กลไกราคา
- นักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับใบงานและความเชื่อมโยงสิ่งที่ได้เรียนรู้เพื่อสร้างความเข้าใจ
และสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
- วิเคราะห์บทความ “เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน”
-
สืบค้นข้อมูลและนำเสนอ หัวข้อต่างๆที่ได้รับ อาทิเช่น กลไกราคากับระบบเศรษฐกิจ (อุปสงค์ , อุปทาน ,ดุลยภาพ
) ,เศรษฐกิจระหว่างประเทศ ,ภาวะเงินฝืด เงิน
- สืบค้นข้อมูลและอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจประเภทต่างๆ
- วิเคราะห์ใบงาน
เกี่ยวกับ“ระบบเศรษฐกิจและ กลไกราคา
ชิ้นงาน
- ชิ้นงานนำเสนอระบบเศรษฐกิจประเภทต่างๆ
- ชิ้นงานนำเสนอระบบเศรษฐศาสตร์
- ใบงานเกี่ยวกับ“ระบบเศรษฐกิจ และ กลไกราคา
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้
-
ระบบเศรษฐกิจประเภทต่างๆ
- ความเชื่อมโยงระหว่าระบบเศรษฐกิจกับระบบเศรษฐศาสตร์
ทักษะ
ทักษะชีวิต
- การวางแผนในการทำงานกลุ่ม
- สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
การคิดวิเคราะห์และจัดการข้อมูลที่ใช้ในการนำเสนอเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจประเภทต่างๆ
และความเชื่อมโยงระหว่าระบบเศรษฐกิจกับระบบเศรษฐศาสตร์
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- นักเรียนแต่ละคน
ได้ร่วมแสดงความคิดเห็น และรับฟังทัศนะคติของทุกๆคนอย่างมีเหตุผล
- กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับการสืบค้นข้อมูลเพื่อใช้ในการร่วมเรียนรู้กับผู้อื่น
ทักษะความคิดสร้างสรรค์
การนำเสนอสิ่งที่ได้สืบค้นในรูปแบบต่างๆที่แต่ละกลุ่มสนใจ
คุณลักษณะ
-
การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- สรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
|
ประมวลกิจกรรมการเรียนรู้

ตัวอย่างชิ้นงาน
ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
บันทึกหลังการสอน
ตอบลบในสัปดาห์นี้เป็นพี่ๆม.3 มีกิจกรรมเรียนรู้เกี่ยวกับ ระบบเศรษฐกิจ และระบบเศรษฐกิจ อาทิเช่น กลไกราคากับระบบเศรษฐกิจ (อุปสงค์ , อุปทาน ,ดุลยภาพ ) ,เศรษฐกิจระหว่างประเทศ ,ภาวะเงินฝืด เงินเฟ้อ , สาเหตุและวิธีการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งในชั่วโมงแรก คุณครูได้แจกบทความเกี่ยวกับ "ระบบเศษรฐศาสตร์ในชีวิตประจำวันให้แต่ละคน โดยแต่ละเรื่องไม่ซ้ำกัน อาทิเช่น ก๋วยเตี๋ยวทำเองกับซื้ออะไรจะขาดทุนกว่ากัน , ใครรวยที่สุดในโลก , ห้างสรรพสิ้นค้า ลดราคาอย่างไรก็ไม่ขาดทุน" หลังจากนั้นเราก็ได้แชร์ความคิดเห็นร่วมกนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน และในคาบการเรียนรู้ต่อมาได้ แบ่งกลุ่มเป็น 4 กลุ่มและแบ่งหัวข้อเรื่องในการศึกษา โดยการจับฉลาก ซึ่งก่อนที่แต่ละกลุ่มจะสืบค้นข้อมูล คุณครูได้ใช้คำถามกระตุ้นการคิดเกี่ยวกับ "ครั้งแรกที่ได้ยินคำว่าเศรษฐศาสตร์ พี่ๆคิดว่า มันหมายถึงอะไร" แต่ละคนได้ร่วมแสดงความคิดเห็น พี่โอม "ผมว่านะจะเกี่ยวกับเงินครับครู แบบว่า ใช้ซื้อหรือแลกเปลี่ยนอะไรประมาณนี้ครับ" พี่บีม อ"หนูคิดว่าน่าจะเกี่ยวกับว่า การใช้ของในประเทศเราค่ะว่า แต่ละคนต้องการอะไร และจะซื้ออะไร" ฯลฯ หลังจากนั้นแต่ละกลุ่มก็ได้ร่วมกันหาข้อมูลตามหัวข้อที่ได้ รวมทั้งในวันต่อมาคุณครูได้นำบทความ เกี่ยวกับระบบเศรษฐศาสตร์ มาให้พี่ๆแต่ละกลุ่มได้ร่วมกันวิเคราะห์และสรุปร่วมกัน เพื่อเตรียมนำเสนอความเข้าใจ
ก่อนการนำเสนอคุณครูได้ให้พี่ๆแต่ละคนเขียนความเข้าใจของตนเองลงในกระดาษ A4 ที่มีหัวข้อเรื่องต่างๆ ประกอบด้วย เศรษฐกิจระหว่างประเทศ กลไกเงินเฟ้อเงินฝืด กลไกราคากับระบบเศรษฐกิจ (อุปสงค์ , อุปทาน ,ดุลยภาพ ) และ สาเหตุและวิธีการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ แต่ละคน เดินเวียนไปยังตำแหน่งต่างๆที่ครูว่าง กระดาษ A4 ไว้และเขียนแสดงความคิดเห็นลงไป หลังจาเรียบ้อยแล้ว เราก็กลับมานั้งล้อมวง และอภิปรายรวมกัน เพื่อเพิ่มความเข้าใจต่อเรื่องที่ได้ศึกษา สิ้นสุดกิจกรรมด้วยการสรุปการเรียนู้รายสัปดาห์ค่ะ