เป้าหมายความเข้าใจรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถอธิบายความเชื่อมโยงของระบบการปกครอง
ประวัติศาสตร์ และระบบเศรษฐศาสตร์ของประเทศไทยได้
Week
|
input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
5
|
โจทย์
- ระบบการปกครอง
- หน้าที่พลเมือง
Key Questions
- ระบบการปกครองของประเทศไทยในปัจจุบันตามทัศนะคติของนักเรียนเป็นอย่างไร
-
นักเรียนคิดว่าแต่ละเรื่องที่ทุกกลุ่มนำเสนอมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร
เครื่องมือคิด
Show and Share
- นำเสนอทัศนะคติเกี่ยวกับระบบการปกครองของประเทศไทยในปัจจุบันและความเกี่ยวข้องของระบบการปกครอง
และหน้าที่พลเมืองของประชนในประเทศไทย
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องสมุด
- internet
- บรรยากาศในห้องเรียน
- ภาพการ์ตูนสะท้อนการเมืองไทย
|
จันทร์
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ระบบการปกครองของประเทศไทยในปัจจุบันตามทัศนะคติของนักเรียนเป็นอย่างไร?”
เชื่อม : ครูแจกกระดาษให้นักเรียนแต่ละคน
- นักเรียนถ่ายทอดทัศนะคติของตนเองในรูปแบบภาพวาด
ลงในกระดาษ ครึ่ง A4
ชง : ครูแจกภาพ (ถ่ายทอดทัศนะคติของประชาชนทั่วประเทศที่มีต่อการปกครองของประเทศไทย)
คนละ 1 ภาพ
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนวิเคราะห์และเขียนบทความสั้นๆ
แสดงสิ่งที่ได้ภาพที่เห็น
- ครูและนักเรียนร่วมพูดคุยเกี่ยวกับระบบการปกครองของประเทศไทยในปัจจุบันและสิ่งที่ได้จากทัศนะคติและมุมมองของแต่ละคน
พุธ
- นักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่มๆละเท่าๆกันและตัวแทนกลุ่มจับฉลากเลือกหัวข้อ
ดังนี้ ระบบการปกครองของไทย
หน้าที่พลเมืองของไทย
พฤหัสบดี
- นักเรียนแต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลในหัวข้อที่ได้รับ
- ครูและนักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอข้อมูลที่ได้สืบค้น
โดยกำหนดให้นำเสนอ ในรูปแบบภาพวาด Timeline
- ครูและนักเรียนแต่ละกลุ่มอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการนำเสนอ
ศุกร์
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าแต่ละเรื่องที่ทุกกลุ่มนำเสนอมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมนำเสนอความคิดเห็น
- นักเรียนแต่ละคนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ลงในสมุดบันทึกเล่มเล็ก
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้และสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
- วิเคราะห์และวาดภาพแสดงทัศนคติของตนเองต่อการปกครองของประเทศไทย
- สืบค้นและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับระบบการปกครอง
ประวัติศาสตร์ และระบบเศรษฐศาสตร์ของไทย
- วิเคราะห์ความเชื่อมโยงของระบบการปกครอง ประวัติศาสตร์
และระบบเศรษฐศาสตร์ของไทย
ชิ้นงาน
- สมุดบันทึกเล่มเล็ก
- บทความและภาพวาดทัศนคติของตนเองต่อการปกครองของประเทศไทย
- ภาพวาด Timeline แสดงข้อมูล
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความเชื่อมโยงของระบบการปกครอง
และหน้าที่พลเมืองของประชนในประเทศไทย
ทักษะ
ทักษะชีวิต
- การวางแผนในการทำงานกลุ่ม
- สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
การคิดวิเคราะห์และจัดการข้อมูลที่ใช้ในการนำเสนอเกี่ยวกับระบบการปกครอง
และหน้าที่พลเมืองของประชนในประเทศไทย ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- นักเรียนแต่ละคน
ได้ร่วมแสดงความคิดเห็น และรับฟังทัศนะคติของทุกๆคนอย่างมีเหตุผล
- กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับการสืบค้นข้อมูลเพื่อใช้ในการร่วมเรียนรู้กับผู้อื่น
ทักษะความคิดสร้างสรรค์
การนำเสนอสิ่งที่ได้สืบค้นในรูปแบบ
Timelineคุณลักษณะ
-
การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- สรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
|
ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนรู้

ตัวอย่างชิ้นงาน
- Time line ระบบการปกครองของประเทศไทย
- การวิเคราะห์ความคิดเห็นทางการเมือฝจากภาพ / การนำเสนอความคิดเห็นของตนเองต่อการเมือไทยปัจจุบันในรูปแบบภาพวาด
- ตัวอย่างชาร์ตข้อมูลการปกครองของไทย
ตัวอย่างสรุปสัปดาห์
บันทึกหลังการเรียนรู้
ตอบลบต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว คุณครูได้ให้พี่ๆ ม.3แต่ละคนวิเคราะห์ ภาพการณ์ตูนล้อเลียนการเมือง และภาพสะท้อนมุมมองทางสังคมด้านการปกครองต่าง และต่อเนื่องด้วย เขียนทัศนะคติของตนเองที่มีต่อภาพ หลังจากนั้นก็ได้วาดภาพของตนเองบ้าง โดยคุณครูได้ตั้งคำถามกับพี่คือ "พี่ๆคิดว่า ตนเองมีมุมมองต่อสังคมไทยในปัจจุบันอย่างไร?" หลังจากนั้นคุณครูได้ฝากการบ้านให้พี่ๆ ได้ให้พี่ๆแต่ละคนได้สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับ ประวัติความเป็นมาของการปกครองของประเทศไทยโดยสรุปข้อมูลในรูปแแบของ Time line และจะนำมาคุยกันในวันจันทร์ ค่ะ
ในวันจันทร์ที่ผ่านมาพี่ๆ และคุณครูได้ร่วมกันพูดคุยกี่ยวกับข้อมูลที่ได้จากการสืบค้น แต่ละคนเล่าเรื่องราวความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทย อาทิเช่น พี่แนน เล่าให้ฟังตั้งแต่ รูปแบบการปกครองตั้งแต่สมัยสุโขทัย ธนบุรี อยุธยา มาจนกระทั้งกรุงรัตนโกสินทร์ หลังจากนั้น คุณครูได้แจกบทความเกี่ยวกับระบบการปกครองในรูปแบบต่างๆให้พี่ๆแต่ละกลุ่มได้ร่วมวิเคราะห์และพูดคุยนำเสนอร่วมกันอีกครั้ง เพื่อเพิ่มความเข้าใจและสำหรับระบบการปกครองรูปแแบอื่นของต่างๆประเทศที่คลายคลึงกับประเทศไทยที่เคยผ่านมา เช่น ระบบการปกครองแบบเผด็จการ ระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีกษัตริย์ เป็นประมุข หรือ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ความแตกต่างของการปกครองแบบทุนนิยมและเสรีนิยม
หลังจากที่พี่ๆและคุณครูได้ร่วมพูดคุยกัน พี่ๆก็ได้แสดงความคิดเห็นต่อระบบการปกครองรูปแบบต่างๆ ในรูปแบบของการเขียนเรียงความ และปิดท้ายด้วย สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ค่ะ