แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายสัปดาห์
หน่วย “เติมกระปุกให้เต็มกระเป๋า” Quarter 3 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2557
เป้าหมายความเข้าใจรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถอธิบายของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต และความหลากหลายทางชีวภาพได้
Week
|
input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
1- 2
|
โจทย์
- การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
- ระบบนิเวศน์ท้องถิ่น
-โรคทางพันธุกรรม
- หน่วยพันธุกรรม(DNA,RNA) -
ความหลากหลายทางชีวภาพ
Key
Questions
- นักเรียนคิดว่าสิ่งมีชีวิตมีการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมอย่างไร
-
นักเรียนคิดว่าหากมีการแต่งงานกันเองภายในกลุ่มเครือญาติ
ลูกที่เกิดมาจะมีลักษณะเป็นอย่างไร
เครื่องมือคิด
Show and Share
- นำเสนอข้อมูลที่ได้จากการสืบค้น
เกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต และความหลากหลายทางชีวภาพ
- นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับมุมมองแนวคิด ต่อรายการ คนค้นคน ตอน “กันกับกี้”
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องสมุด
- internet
- บรรยากาศในห้องเรียน
- รายการ คนค้นคน
ตอน “กันกับกี้”
- ใบงาน ระบบการทำงานของหน่วยย่อยพื้นฐานของพันธุกรรม
โครโมโซม DNA และ RNA
|
จันทร์
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าสิ่งมีชีวิตมีการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมอย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่มๆละเท่าๆกัน
- จับฉลากเลือกหัวข้อที่ต้องการศึกษา ดังนี้ ระบบนิเวศน์ท้องถิ่น
,โรคทางพันธุกรรม
, หน่วยพันธุกรรม(DNA,RNA)
ความหลากหลายทางชีวภาพ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลในหัวข้อที่ได้รับ
- ครูและนักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอข้อมูลที่ได้สืบค้น
พุธ
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าหากมีการแต่งงานกันเองภายในกลุ่มเครือญาติ
ลูกที่เกิดมาจะมีลักษณะเป็นอย่างไร”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนนำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับคำถาม
พฤหัสบดี
- ครูเปิดคลิปรายการ คนค้นคน ตอน “กันกับกี้”
ซึ่งเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของเด็กสองคนที่มีร่างกายแคระแกน
เนื่องจากการแต่งงานร่วมกันของพ่อกับแม่ที่เป็นเครือญาติกันเอง
- ครูและนักเรียนร่วมพูดคุยสิ่งที่ได้เรียนรู้จากรายการ
ศุกร์
ใช้ :
นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมพูดคุยและสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
ในกระบวนการต่างๆ
และถ่ายทอดในรูปแบบที่สนใจ อาทิเช่น Flow Chart
ภาพเรื่องราว การ์ตูนช่อง ฯลฯ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มสรุปความเข้าใจเรื่องที่ศึกษาในรูปแบบต่างๆ
- นักเรียนทำใบงานเรื่องระบบการทำงานของหน่วยย่อยพื้นฐานของพันธุกรรม
โครโมโซม DNA และ RNA ให้นักเรียนแต่ละคน
เชื่อม :นักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับใบงานและความเชื่อมโยงสิ่งที่ได้เรียนรู้เพื่อสร้างความเข้าใจ
และสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
- สืบค้นข้อมูลในหัวข้อต่างๆ อาทิเช่น ระบบนิเวศน์ท้องถิ่น ,โรคทางพันธุกรรม , หน่วยพันธุกรรม(DNA,RNA)
-
การนำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับมุมมองแนวคิด ต่อรายการ คนค้นคน ตอน “กันกับกี้”
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในกระบวนการต่างๆ
และถ่ายทอดในรูปแบบที่สนใจ อาทิเช่น Flow Chart
ภาพเรื่องราว การ์ตูนช่อง ฯลฯ
- อภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับใบงานเพื่อสร้างความเข้าใจ
ชิ้นงาน
- Flow Chart ภาพเรื่องราว การ์ตูนช่อง ฯลฯ
สิ่งที่ได้เรียนรู้ในกระบวนการต่างๆ
- ใบงานระบบการทำงานของหน่วยย่อยพื้นฐานของพันธุกรรม
โครโมโซม DNA และ RNA
-
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้
การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต และความหลากหลายทางชีวภาพ
ทักษะ
ทักษะการจัดการข้อมูล
- การนำเสนอข้อมูลที่สำคัญอย่างเป็นลำดับและเห็นความเชื่อมโยงของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต และความหลากหลายทางชีวภาพ
- การคิดวิเคราะห์เรื่องที่ได้ดูรายการ คนค้นคน ตอน
“กันกับกี้” และเชื่อมโยงกับการใช้ในชีวิตประจำวัน
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- นักเรียนแต่ละคน ได้ร่วมแสดงความคิดเห็น และรับฟังทัศนะคติของทุกๆคนอย่างมีเหตุผล
- การเลือกใช้เครื่องมือคิดที่หลากหลายในกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับการทดลองเรื่องแรงและการเคลื่อนที่
- การแบ่งบทบาทหน้าที่ในการวางแผนกระบวนการทำงาน
คุณลักษณะ
-
การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- สรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
|
ตัวอย่างชิ้นงาน
ตัวอย่างใบงาน

ตัวอย่าง สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

บันทึกหลังการเรียนรู้
ตอบลบสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์แรกของการเรียนรู้ โดยกิจกรรมการเรียนของพี่ๆ ม.3 ใน QUARTER นี้ก็เปลี่ยนแปลงจาก วิธีการเรียนรู้เดิม ซึ่งมีการเพิ่มวิธีการเรียนรู้แบบ Open book ควบคู่กับการเรียนรู้ ในรูปแบบ PBL เข้าไปด้วย ซึ่งพี่ๆในช่วงแรกของสัปดาห์นี้ โดยปกรติจะเป็นการสร้างแรงบันดาลใจเพื่อให้เด็กๆ มีความต้องการเรื่องที่จะเรียนรู้ แต่หลังจากที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงวิธี ทำให้พี่ๆ ม.3 ลดระยะเวลาในการสร้างแรงขึ้นอีก ซึ่งเราได้ใช้เวลาช่วงนั้นเป็นการร่วมพูดคุยและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้จากการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบเดิม ที่เป็นแบบ PBL รูปแบบเดียว กับแบบที่กำลังจะเกิดขึ้นใน Quarter นี้ พี่ๆ ทุกคนให้เหตุผลต่อสิ่งที่ผ่านมาได้ โดยส่วนใหญ่มีความคิดว่า การเรียนรู้แบบเดิม จะได้มีการลงมือปฏิบัติ แต่อาจจะไม่ครบทุกเรื่อง (ที่มีในหลักสูตร)แต่มันทำให้พวกเขาสนุกและมีความสุขกับสิ่งที่ทำอยู่ แต่เมื่อทุกคนได้โจทย์ว่า เราจะมีการเรียนรู้แบบ Open Book เข้ามาเพิ่ม พี่ๆม.3 ก็ร่วมแสดงความคิดเห็นในช่วงที่คุณครูให้เขียนสิ่งที่อยากรู้ และสิ่งที่รู้แล้วว่า ...เขาคิดว่าก็จะมีการทำกิจกรรมเพิ่มขึ้น และเนื้อหา(ตามหลักสูตร) ก็จะครบถ้วน """""ซึ่งเราก็จะค่อยสังเกตต่อไปว่า จะเกิดผลอย่างไร"""
หลังจากได้พูดคุยกับเกี่ยวกับเรื่องที่กล่าวมาเรียบร้อยแล้ว พี่ๆ ม.3 ก็ถึงเวลาในการเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ เริ่มต้นด้วยการเขียนสิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้ ออกแแบบปฏิทินร่วมกัน ตั้งชื่อเรื่อง และเขียน Mind Mapping ก่อนเรียน เพื่อเป็นการเริ่มต้น สตาร์ท อีกครั้ง ..ตลอดช่วง 3 วันแรกของการเรียนรู้ ได้มีการแบ่งกลุ่มสรร้างชิ้นงานต่างๆ ที่ได้ร่วมกันกันคิด และชื่อหน่วย ใน Quarter 3 ของพี่ๆม.3 ก็คือ "I KNOW I UNDERSTAND ฉันรู้ ฉันเข้าใจ "
หลังจากจบกิจกรรมข้างต้นแล้ว พี่ๆและคุณครูก็เริ่มต้นกับกิจกรรมกการเรียนรู้เรื่องแรกค่ะ คือเกี่ยวกับ โครโมโซมดีเอ็นเอ และพันธุกรรมกต่างๆ โดย ขั้นตอนการเรียนรู้ในแต่ละสัปดาห์จะมีรูปแบบคล้ายกันคือ การกระตุ้นจากครู เช่นการทดลอง หรือ บทความหรือคำถามต่างๆ จากนั้นก็เป็น การแบ่งกลุ่มสืบค้นข้อมูลเรื่องราวต่างๆ ที่ต้องเรียนรู้ หลังจากนั้นก็เป็นการอภิปรายร่วมกัน มีการปฏิบัติควบคู่ไปด้วย และทบทวนด้วยการทำใบงานเพิ่มเติม
การนำเสนอในสัปดาห์นี้ เลื่อนเป็น วันจันทร์ของสัปดาห์ที่ 2 สามารถอ่านสิ่งที่เด็กได้เรียนรู้ ในสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 2ค่ะ
ตอบลบ